คณะวิศวฯ จุฬาฯ จับมือเอ็มเทค สวทช. และ อพวช. เป็นเจ้าภาพจัด “การแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ IDC RoBoCon 2023”


คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) เป็นเจ้าภาพจัด “การแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ IDC RoBoCon 2023” ภายใต้หัวข้อ “Thailand: The World’s Kitchen” ประเทศไทย: ครัวของโลก รอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ อิมแพค เมืองทองธานี

โดยในปีนี้ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในรูปแบบไฮบริด และมี 8 ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินเดีย เม็กซิโก อียิปต์ และไทย

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและการผลิตกำลังคนทางด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เป็นหน่วยงานหลักในจัดการแข่งขันครั้งนี้ โดยการแข่งขันระดับนานาชาติเป็นรูปแบบจัดทีมแข่งขันแบบคละนักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ทำให้นิสิต นักศึกษาไทยได้นำความรู้ทางวิชาการมาปรับใช้ในการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ ฝึกฝนทักษะการทำงานและการสื่อสารกับนักศึกษาประเทศต่าง ๆ ส่วนในโจทย์ปีนี้เป็นการแข่งขันภายใต้หัวข้อ “Thailand: The World’s Kitchen” หรือ ประเทศไทย: ครัวของโลก สอดคล้องกับการส่งเสริมให้อาหารไทยเป็น soft power ที่สำคัญในการสร้างจุดขายให้กับประเทศและสร้างโอกาสในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย”

การแข่งขัน IDC RoBoCon 2023 ในครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาไทยจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมจำนวน 34 คน จากนิสิต นักศึกษาจำนวนที่เข้าร่วมทั้งหมด 91 คน แบ่งเป็น 13 ทีม ๆ ละ 7 คน แบบคละประเทศ ในรูปแบบไฮบริด ทั้ง On-site และ Online ภายใต้ระยะเวลาที่จำกัดคือ 10 วัน (ระยะเวลาเก็บตัวและสร้างหุ่นยนต์แข่งขันตั้งแต่วันที่ 7-19 สิงหาคม 2566 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ) และวัสดุและอุปกรณ์ที่กำหนดให้เท่านั้น โดยนิสิต นักศึกษาต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ ตั้งแต่การสื่อสารทำความรู้จักกัน แบ่งปันไอเดียความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ทางวิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อออกแบบและสร้างหุ่นยนต์พิชิตโจทย์ปัญหา โดยมีทีมที่ได้รับรางวัล ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ : ทีม Purple
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 : ทีม Light Blue
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 : ทีม Navy และ ทีม Yellow
รางวัลออกแบบยอดเยี่ยม : ทีม Navy

ทั้งนี้ นิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้เข้าการร่วมแข่งขันและเป็นส่วนหนึ่งในทีมที่ได้รับรางวัล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิต นักศึกษาทุกท่านที่ได้รับรางวัลดังกล่าว

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save