บทความจากรายการ พูดจาประสาช่าง โดย รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ เรื่อง “วิศวกรรมแหล่งน้ำ: ติดตามภาวะน้ำท่วม จากข้อมูลวิจัยคาดการณ์น้ำเขื่อน น้ำท่า น้ำท่วม ล่วงหน้า”


บทความจากรายการ พูดจาประสาช่าง โดย รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานแผนงานวิจัยแผนงานการขับเคลื่อนแนวทางการใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำ เรื่อง วิศวกรรมแหล่งน้ำ: ติดตามภาวะน้ำท่วม จากข้อมูลวิจัยคาดการณ์น้ำเขื่อน น้ำท่า น้ำท่วม ล่วงหน้า”

รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ เล่าว่า สถานการณ์น้ำในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ ๆ คือ หน้าฝน พฤษภาคม – ตุลาคม หากฝนตกในปริมาณมากก็จะเกิดสถานการณ์น้ำแบบนี้ แต่หากฝนตกน้อยจะเกิดสภาวะแล้ง และหลังจากวันที่ 1 พฤศจิกายน ไปแล้ว ฝนจะเริ่มลดปริมาณลงไป พื้นที่ ๆ มีเขื่อนจะปล่อยน้ำออกมา และในส่วนของพื้นที่ที่มีเขื่อนน้อยจะต้องอาศัยน้ำที่มีอยู่ และจะเกิดสภาวะแล้ง ซึ่งเป็นวัฏจักรของน้ำและการใช้ชีวิต

สถานการณ์น้ำในปีนี้หลายคนคงทราบดีว่าเกิดจากสถานการณ์ลานีญาและเอลนีโญ ทำให้สภาวะอากาศแปรปรวนมากขึ้นจากในอดีต สถานการณ์น้ำในช่วงนี้ฝนจะเพิ่มขึ้น 5-10% จากค่าเฉลี่ยซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์ลานีญา ฝนเริ่มตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้จังหวัดน่านและสุโขทัยเกิดน้ำท่วมหนัก

สำหรับแนวโน้มมีจะ 2 รูปแบบ คือ 1) ไต้ฝุ่นจะมาเมื่อไหร่ 2) ถ้าฝนตกแล้วน้ำในเขื่อนจะเป็นอย่างไร ในงานวิจัยเราพยายามทำแบบจำลอง 14 วัน ดูว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นจุดเด่นของงานวิจัยที่ทำให้เราสามารถเตรียมความพร้อมได้ดีกว่า

เมื่อ 3 อาทิตย์ที่แล้ว น้ำที่ผ่านไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์มีปริมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งมีหลักการ 2 อย่าง คือ ฝนที่ตกอยู่เหนือเขื่อน ๆ จะสามารถช่วยได้บ้างในการรับน้ำ หากอยู่ใต้เขื่อน ๆ จะปล่อยน้ำอยู่ที่ปริมาณเท่าไหร่ ฝนที่ตกใต้เขื่อนจะมีเท่าไหร่ ซึ่งนครสวรรค์จะเป็นตัวดัชนีหากตกปริมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะอยู่ในสถานการณ์ปกติ ปริมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะเริ่มท่วมตลิ่งบ้าง และหากปริมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะล้นคันที่มีอยู่

ต่อจากนี้ 2 อาทิตย์ แนวโน้มจะเป็นอย่างไร

เรามีข้อมูลทำนายจากสำนักการระบายน้ำ ซึ่งมีข้อมูลน้ำทั้งประเทศ ซึ่งเรามีงานวิจัยเรื่องนี้ทำนายฝนไว้ล่วงหน้า 3 วัน 14 วัน และ 2 เดือน ซึ่งดีขึ้นเรื่อย ๆ และเราใช้ข้อมูลนี้มาจำลอง พบว่า จากปริมาณน้ำ 1,500 ที่ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไหลผ่านนครสวรรค์ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 10 กันยายนนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนแล้ว ในขณะที่น้ำในเขื่อนภูมิพลตกอยู่ที่ 40% และเขื่อนสิริกิติ์ 80% ซึ่งอาจจะรับได้น้อยลง ซึ่งจะปล่อยน้ำได้เท่าไหร่และเก็บน้ำในที่พักน้ำได้รึป่าว เป็นโจทย์ที่เราต้องคิดกันในวันนี้

วิธีรับมือ

ในส่วนของวิธีรับมือเราต้องแยกเป็นพื้นที่ สำหรับพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีตลิ่ง และมีคันถนนกันไว้ เพราะฉะนั้นประชาชนที่อยู่ริมตลิ่งต้องระมัดระวังจากนี้ไปเพราะเขื่อนเริ่มปล่อยน้ำที่ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ใกล้จะ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แล้ว หากฝนตกอาจจะมากกว่านั้นได้ ต้องเริ่มเก็บของขึ้นชั้น 2 เป็นส่วนที่ต้องระวัง และถ้าหากน้ำขึ้นถึง 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก็ใกล้จะล้นคันกั้นน้ำแล้ว ซึ่งจากนี้อีกประมาณ 2 อาทิตย์ หากมีพายุลูกใหม่เข้ามาไหมก็ต้องคอยระวัง และคำถามที่หลายคนกลัว คือ แล้วน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ไหม” หากปริมาณน้ำจากอยุธยาไหลลงมาไม่เกิน 3,000 ปริมาณจะอยู่ในระดับพอดีกับคันที่เรามีจะยังไม่ท่วม ถ้าเกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก็มีโอกาสท่วมได้ ณ วันนี้ปริมาณน้ำอยู่ที่ 1,500-2,000 ในรอบอาทิตย์จากนี้ไปก็ยังปลอดภัยอยู่ ซึ่งอาทิตย์ถัดไปจะมีพายุใต้ฝุ่นมารึป่าวเราต้องติดตามกัน เพราะธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราคาดเดาได้ยาก

การแก้ปัญหาในระยะยาว

ในภาพใหญ่ไม่ใช่แค่ประเทศไทยแม้กระทั่งประเทศที่ (Resilient) พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะญี่ปุ่น เยอรมนี น้ำยังท่วมอยู่ เพราะฉะนั้นเราจะอยู่กับน้ำให้ได้ด้วยหลักการ อยู่แบบยืดหยุ่น ทนให้ได้ในระดับหนึ่ง ทนไม่ได้จะต้องหนีบ้าง แล้วกลับมาทำธุรกิจใหม่ให้เร็วมากที่สุด การเตรียมตัวล่วงหน้าและการหาแหล่งหนีภัยเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องทำ จะเห็นได้ว่าการปรับตัวเป็นสิ่งที่สำคัญให้พร้อมรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่สำคัญ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านเว็บไซต์ Traffy Fondue ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันการศึกษาวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Sensor, ioT, 5G รวมถึง AI สามารถรู้สถานการณ์น้ำท่วมได้แบบ Real Time ทำให้แก้ไขวิกฤตการณ์ได้ทันท่วงที รวมทั้งหาวิธีป้องกันภัยล่วงหน้าในสถานการณ์ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

สิ่งที่สำคัญธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป เราพยายามช่วยเหลือในเรื่องของการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนหนึ่งจะได้ทำให้การเปลี่ยนแปลงของโลกได้ช้าลงบ้าง และเราจะต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงตรงนี้เพื่อมาปรับตัวเราเองว่าต้องทำอย่างไรให้เหมาะสม ในขณะเดียวกันเราต้องศึกษาหาความรู้ว่าน้ำมาอย่างไร เราจะเตรียมตัวรับมืออย่างไร เรื่องเหล่านี้เป็นความรู้พื้นฐานที่เราควรต้องมี”

 

ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2567

 

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save